วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สมุนไพร

พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
บทความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..

สมุนไพร

พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
บทความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..

บทที่ 1 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

บทที่ 1 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1. ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อพิจารณาหลัก ๆ ก็มิได้แตกต่างกัน แต่หากพิจารณาในรายละเอียดของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่แยกตามขนาด ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามขนาดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงควรรู้รายละเอียดของชนิดคอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามขนาดในปัจจุบันเสียก่อน
1. การแบ่งชนิดคอมพิวเตอร์ตามขนาด
1.1 ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุด มีโปรเซสเซอร์ภายในมากกว่า 1 ตัวและสามารถรองรับได้กว่า 100 ตัว หน่วยวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้คือหน่วยกิกะฟลอบ (Gigaflob) ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นี้มักนำมาใช้งานกับการวิจัยที่ต้องอาศัยความรวดเร็วและการคำนวณที่ซับซ้อน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์ และธรณีวิทยา 1.1 ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุด มีโปรเซสเซอร์ภายในมากกว่า 1 ตัวและสามารถรองรับได้กว่า 100 ตัว หน่วยวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้คือหน่วยกิกะฟลอบ (Gigaflob) ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นี้มักนำมาใช้งานกับการวิจัยที่ต้องอาศัยความรวดเร็วและการคำนวณที่ซับซ้อน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์ และธรณีวิทยา


1.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainfram Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มักใช้งานตามองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ทั่ว ๆ ไป เช่น สายการบิน บริษัทประกันภัย
1.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่เหมาะสมกับธุรกิจขนาดกลาง เช่น โรงพยาบาล รวมถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ 1.4 เวิร์กสเตชั่นคอมพิวเตอร์ (Workstations Computer) โดยทั่วไปคำว่าเวิร์กสเตชั่น ส่วนใหญ่จะนึกถึงไมโครคอมพิวเตอร์ที่ต่อกันเป็นเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่ายโดยทำงานในลักษณะมัลติยูสเซอร์ (Multi- user) แต่เวิร์กสเตชั่นในที่นี้ไม่ใช่หมายความดังที่กล่าว แต่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เฉพาะ ซึ่งดูภายนอกแล้วก็แลดูก็เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูงเหมาะสมกับงานด้านการออกแบบกราฟฟิก และภาพเคลื่อนไหว (Graphics animation) ซึ่งเครื่องเวิร์กสเตชั้นจะมีภาพที่มีความละเอียดสูง สามารถแสดงภาพได้เสมือนจริง มีโปรเซสเซอร์ที่ประมวลผลได้รวดเร็ว และมักนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านภาพยนตร์แอนนิเมชั่น

1.5 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถตั้งโต๊ะเพื่อใช้งาน (Desktop) หรือเรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) มีความคล่องตัวสูงเคลื่อนย้ายง่าย มีราคาถูกและประสิทธิภาพสูง ปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์มีการใช้งานมากที่สุดในกลุ่ม เนื่องจาสกสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลาย ๆ ด้านด้วยกัน รวมถึงการนำมาใช้ร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ปาล์มคอมพิวเตอร์ รวมถึงคอมพิวเตอร์ที่ผนวกไว้กับโทรศัพท์มือถือ สำหรับเนื้อหาจะมุ่งเน้นไมโครคอมพิวเตอร์เป็นหลักสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบหรือโครงสร้างต่าง ๆ ของไมโครคอมพิวเตอร์ เมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลักและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ
2. ระบบคอมพิวเตอร์ ตามปกติระบบคอมพิวเตอร์จะสมบูรณ์แบบ จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วน ด้วยกันคือ 2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) อุปกรณ์หรือเครื่องกลไกต่าง ๆ ที่นำมาประกอบเป็นคอมพิวเตอร์นั้นเรียกว่า “ ฮาร์ดแวร์ ” และในอีกด้านหนึ่งของฮาร์ดแวร์ก็คือส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่สามารถแตะต้องได้ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ เช่น จอคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ เครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด เมาส์ ลำโพง เป็นต้น 2.2 ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์คือกลุ่มของชุดคำสั่ง (Instruction) ซึ่งจะประกอบด้วยโค้ดต่าง ๆ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ปฎิบัติงานตามต้องการ หรือเป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยซอฟต์แวร์ก็จะมีทั้งซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utilities Software) 2.3 บุคลากร (People) บุคลากรคือผู้ที่ปฎิบัติงานคอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่า ยูสเซอร์ (Users) ซึ่งเป็นผู้ที่ป้อนข้อมุลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน พึงจำไว้ว่า คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้โดยปราศจากบุคลากร ซึ่งบุคลากรทางคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วย บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการออกแบบ พัฒนา บำรุงรักษา รวมถึงยูสเซอร์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมุลและคำสั่ง 2.4 ข้อมูล (Data) ข้อมูลในที่นี้ คือ ความจริง (Facts) ข้อมูลดิบ (Row data) ในปัจจุบันข้อมูลสามารถเป็นได้ทั้งข้อความ (Texts), ตัวเลข (Number), เสียง (Sound), หรือภาพ (Images) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บในคอมพิวเตอร์นั้น จะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบเลขฐานสอง